เมนู

ว่าด้วยปัจจุบันกาล 3 อย่าง


ชื่อว่า ปัจจุบัน นี้ มี 3 อย่าง คือ
ขณปัจจุบัน
สันตติปัจจุบัน
อัทธาปัจจุบัน.
บรรดาปัจจุบัน 3 เหล่านั้น ปัจจุบันที่ถึงอุปปาทขณะ ฐีติขณะ และ
ภังคขณะ ชื่อว่า ขณปัจจุบัน. ปัจจุบันเนื่องด้วยวาระเป็นไปติดต่อกันสิ้น
วาระหนึ่งหรือสองวาระ ชื่อว่า สันตติปัจจุบัน.
ในข้อสันติปัจจุบันนั้น เมื่อบุคคลนั่งในที่มืดแล้ว ออกมาสู่ที่สว่าง
อารมณ์ยังไม่แจ่มแจ้งทันที อารมณ์นั้นจะปรากฏชัดเจนตราบใด ภายในระหว่างนี้
พึงทราบวาระที่สืบต่อกันสิ้นหนึ่งหรือสองวาระ เมื่อบุคคลเที่ยวไปในที่แจ้งแล้ว
เข้าไปห้องน้อย (ห้องมืด) แล้วรูปารมณ์ก็ยังไม่ปรากฏทันทีก่อน รูปารมณ์นั้น
ยังไม่ปรากฏตราบใด ภายในระหว่างนี้ ก็พึงทราบวาระการสืบต่อสิ้นหนึ่งวาระ
หรือสองวาระ ก็เมื่อบุคคลยืนอยู่ในที่ไกล แม้เห็นการไหวมือของพวก
ช่างย้อมและการไหวมือเคาะระฆังตีกลองก็ยังไม่ได้ยินเสียงทันที และยังไม่ได้ยิน
เสียงตราบใด ในระหว่างแม้นี้ ก็พึงทราบวาระการสืบต่อหนึ่งหรือสองวาระ.
ท่านมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ก่อน.
ส่วนท่านสังยุตตภาณกาจารย์กล่าวถึง สันตติมี 2 อย่าง คือรูปสันตติ
และอรูปสันตติ แล้วกล่าวว่า ระลอกน้ำที่บุคคลเดินข้ามน้ำลุยไปยังฝั่ง ยังไม่ใส
สนิทตราบใด เมื่อบุคคลมาจากทางไกล ความร้อนในกายยังไม่สงบไปตราบใด
นี้ชื่อว่า รูปสันตติ (ความสืบต่อแห่งรูป) เมื่อบุคคลมาจากแดดเข้าไปสู่ห้อง
ความมืดยังไม่ไปปราศตราบใด เมื่อบุคคลมนสิการกรรมฐานภายในห้อง เปิด

หน้าต่างแลดูในเวลากลางวัน ความหวั่นไหวแห่งนัยน์ตา ยังไม่สงบตราบใด
นี้ก็ชื่อว่า รูปสันตติ วาระแห่งชวนะ 2-3 ชื่อว่า อรูปสันตติ (ความสืบต่อ
แห่งนาม) แล้วกล่าวว่า สันตติแม้ทั้งสองนี้ ชื่อว่า ปัจจุบัน.
ส่วนปัจจุบันที่กำหนดด้วยภพหนึ่ง ชื่อว่า อัทธาปัจจุบัน ในภัตเทก-
รัตตสูตร1 ท่านพระมหากัจจายนเถระหมายเอาอัทธาปัจจุบันที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โย จาวุโส มโน เย จ ธมฺมา สมฺปยุตฺตา อุภยํ
เมตํ ปจฺจุปฺปนฺนํ ตสฺมึ ปจฺจุปฺปนฺเน ฯปฯ ธมฺเมสุ สํหิรติ
(ดู
ก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าบุคคลมีความรู้สึก2 มีวิญญาณ) เนื่องด้วยฉันทรา-
คะในมโนและธรรมที่สัมปยุตกันทั้ง 2 อย่าง ที่เป็นปัจจุบันนั้น เพราะความ
รู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ บุคคลจึงเพลิดเพลินมโนและธรรมนั้น เมื่อเพลิด
เพลินจึงชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน ดังนี้.
ก็ในปัจจุบันที่เป็นสันตติและอัทธาเหล่านี้ สันตติปัจจุบันมาในอรรถ-
กถาทั้งหลาย. อัทธาปัจจุบันแล้วในพระสูตร ในขณปัจจุบันเป็นต้นนั้น เกจิ-
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า จิตที่เป็นขณปัจจุบันย่อมเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ
ดังนี้. เพราะเหตุไร ? เพราะจิตของท่านผู้มีฤทธิ์ และของบุคคลอื่นเกิดขึ้น
ในขณะเดียวกัน.
ก็ความอุปมาของเกจิอาจารย์เหล่านั้น มีดังนี้
ในกำดอกไม้ที่บุคคลชัดไปในอากาศ ดอกหนึ่งย่อมสวม2 ขั้วด้วยขั้ว
ของดอกไม้ดอกหนึ่งได้แน่นอนฉันใด เมื่อพระโยคาวจรพิจารณาจิตของมหาชน
ด้วยสามารถเป็นกองว่า เราจักรู้จิตของคนอื่น ดังนี้ ก็จะรู้จิตของบุคคลหนึ่งด้วย
จิตดวงหนึ่งในอุปปาทขณะ หรือฐีติขณะ หรือภังคขณะได้แน่ ฉันนั้น ก็
คำของพวกเกจิอาจารย์นั้นท่านปฏิเสธไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า ไม่ถูกต้อง
1. ม. อุ. เล่ม 14.560/365 2. ฉบับไทยเป็น นปฺปฏิวิชฺฌติ ฉบับพม่าเป็น ปฏิวิชฺฌตี

เพราะจิตสองดวงซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลเมื่อรำลึกแม้ร้อยปี แม้แสนปี ย่อมระลึก
ได้และย่อมรู้ได้ ไม่มีฐานะร่วมกัน และเพราะโทษแห่งการถึงความที่อาวัชชน
จิตและชวนจิตมีอารมณ์แตกต่างกันในฐานะที่ไม่น่าปรารถนา. ส่วนสันตติปัจจุ-
บัน อัทธาปัจจุบัน พึงทราบว่า ย่อมเป็นอารมณ์ ดังนี้
บรรดาสันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบันเหล่านั้น คำใดที่กล่าวไว้ใน
อรรถกถาว่าจิตของบุคคลอื่นใดในเวลาที่เปลี่ยนไป 2-3 ชวนวิถีด้วยอำนาจอดีต
และอนาคตต่อจากชวนวิถีปัจจุบัน จิตนั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า สันตติปัจจุบัน
ส่วนอัทธาปัจจุบันพึงแสดงด้วยวาระแห่งชวนะดังนี้ คำนั้นท่านกล่าวไว้ดีแล้ว.
ในคำของท่านพระอรรถกถานั้น ท่านแสดงไว้ ดังนี้
ท่านผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะรู้จิตของบุคคลอื่นย่อมนึกถึง การนึกถึงย่อม
กระทำขณปัจจุบันให้เป็นอารมณ์แล้วก็ดับไปพร้อมกับอารมณ์นั้นนั่นแหละ ต่อ
จากนั้นก็เป็นชวนะ 4-5 ชวนะ มีอิทธิจิตเป็นดวงสุดท้าย จิตที่เหลือเป็น
กามาพจร บรรดาจิตทั้งหมดนั้น จิตที่ดับแล้วนั้นนั่นแหละย่อมเป็นอารมณ์
จิตเหล่านั้นหาใช่มีอารมณ์ต่างกันไม่ ย่อมมีอารมณ์เดียวกันนั่นเอง เพราะ
ความที่จิตเหล่านั้นมีอารมณ์ปัจจุบันด้วยอำนาจอัทธาปัจจุบัน ก็อิทธิจิตเท่านั้น
ย่อมรู้จิตของบุคคลอื่นแม้ในความมีอารมณ์เดียวกัน จิตอื่นหารู้ได้ไม่ เหมือน
จักขุวิญญาณเท่านั้น ย่อมเห็นรูปในจักขุทวาร วิญญาณนอกนี้หาเห็นได้ไม่
เพราะฉะนั้น อิทธิจิตนี้จึงเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันด้วยสามารถแห่ง
สันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบัน ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะสันตติปัจจุบันย่อมเป็นไปในนัยแห่งอัทธา-
ปัจจุบันนั่นแหละ ฉะนั้น อิทธิจิตนี้ บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นธรรมมีอารมณ์
เป็นปัจจุบัน ด้วยอำนาจอัทธาปัจจุบันนั่นเอง ดังนี้.

จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาส พึงทราบว่าเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่
พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) แม้โดยการตามระลึกถึงชื่อและโคตรในการ
พิจารณาถึงนิพพานและนิมิตนั่นแหละ พึงทราบว่าเป็นอดีตารัมมณะ คือเป็น
ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตนั่นเองในกาลที่เหลือ. แม้จตุตถฌานที่เป็นไปใน
ยถากัมมูปคญาณก็เป็นอตีตารัมมณะเหมือนกัน.
บรรดาจตุตถฌานมีบุพเพนิวาสญาณเป็นต้นเหล่านั้น บุพเพนิวาสญาณ
และเจโตปริยญาณเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตก็จริง ถึงอย่างนั้น บรรดาบุพเพ-
นิวาสญาณและเจโตปริยญาณเหล่านั้น บุพเพนิวาสญาณก็เป็นธรรมมีขันธ์ใน
อดีต และเป็นธรรมเนื่องด้วยขันธ์ อะไร ๆ ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์หามีไม่ เพราะ
บุพเพนิวาสญาณนั้นมีคติเสมอด้วยสัพพัญญุตญาณในธรรมทั้งหลายมีขันธ์และ
ธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ในอดีตเป็นอารมณ์. ส่วนเจโตปริยญาณมีจิตซึ่งผ่านไป
ภายใน 7 วันเท่านั้นเป็นอารมณ์ เพราะเจโตปริยญาณนั้น ย่อมไม่รู้ขันธ์อื่น
หรือธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ แต่โดยปริยายตรัสว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ เพราะ
มีจิตสัมปยุตด้วยมรรคเป็นอารมณ์ ส่วนยถากัมมูปคตญาณเป็นมรรคคือเจตนา
ในอดีตเท่านั้น เป็นอารมณ์ พึงทราบความต่างกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในฐานะนี้ พึงทราบนัยแห่งอรรถกถา ต่อไป
ก็เพราะตรัสไว้ในปัฏฐานว่า กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ และแก่
อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย ดังนี้ ฉะนั้น ขันธ์แม้ทั้ง 4 จึง
เป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ และยถากัมมูปตญาณ แม้ในญาณทั้ง 2 เหล่า
นั้น ยถากัมมูปคญาณก็มีกุศลและอกุศลนั่นแหละเป็นอารมณ์.

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุ ชื่อว่า เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน
เท่านั้น เพราะสี (วรรณะ) ที่เป็นอารมณ์มีอยู่. จตุตถฌานที่เป็นไปใน
อนาคตังสญาณเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคตเท่านั้น เพราะอนาคตังสญาณนั้น
มีคติอย่างสัพพัญญุตญาณในธรรมทั้งหลายที่มีขันธ์อนาคตและธรรมที่เนื่องด้วย
ขันธ์ในอนาคตเป็นอารมณ์เหมือนบุพเพนิวาสญาณ. ในบรรดาเจโตปริยญาณ
และอนาคตังญาณเหล่านั้น แม้เจโตปริยญาณจะมีอารมณ์เป็นอนาคตก็จริง ถึง
อย่างนั้น เจโตปริยญาณนั้นก็ทำจิตที่เกิดขึ้นภายใน 7 วันเท่านั้นให้เป็นอารมณ์
อนาคตังสญาณนี้ย่อมกระทำจิตที่เกิดขึ้นบ้าง ขันธ์ที่เกิดขึ้นบ้าง ธรรมที่เนื่อง
ด้วยขันธ์บ้าง ในอนาคตตั้งแสนกัปให้เป็นอารมณ์ได้. ฌาน 3 และฌาน 4
ที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นนวัตตัพพารัมมณ คือเป็นธรรมมีอา-
รมณ์ พึงกล่าวไม่ได้โดยส่วนเดียว เพราะไม่ปรารภธรรมแม้อย่างหนึ่งในธรรม
ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันให้เป็นไป.

ว่าด้วยอัชฌัตติกะเป็นต้น


พึงทราบวินิจฉัยในธรรมที่เป็นอัชฌัตติกะ ต่อไป
บทว่า อนินฺทฺริยพทฺธรูปญฺจ นิพฺพานญฺจ พหิทฺธา (รูปที่
ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพานที่เป็นธรรมภายนอก) นี้ ตรัสว่า ธรรมชาติ
นี้ ชื่อว่า พหิทธา (เป็นธรรมภายนอก) เพราะไม่มีปริยายแห่งธรรมภายใน
ที่เกิดในตน โดยประการที่ว่า ธรรมชาตินี้ จะจักเป็นธรรมภายในโดยปริยาย
อะไร ๆ ไม่ได้ เหมือนรูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์ แม้จิตเรียกว่า เป็นธรรมภายนอก
เพราะมีในสันดานของบุคคลอื่นก็นับว่าเป็นธรรมภายใน เพราะความที่อินทรีย์
รูปนั้นเป็นธรรมชาติเนื่องด้วยสันดานของตน มิใช่เพราะเหตุที่ไม่เกิดแต่เพียง
เป็นภายในตน.